เทวบรรพต.."ปราสาทตาควาย" ประจักษ์พยานถึงความเชื่อศรัทธาของผู้คนในอดีตที่มีต่อเทพเจ้า
เทวบรรพต.."ปราสาทตาควาย"
ประจักษ์พยานถึงความเชื่อศรัทธาของผู้คนในอดีตที่มีต่อเทพเจ้า
*******************
Phra Pladwatchara Vachirayano (Kerdsabai
)
น.ธ.เอก, พ.ธ.บ., M.A. (Buddhist studies)
๑. ความนำ
ปราสาทตาควายตัวปราสาทก่อด้วยหินทราย แม้จะเป็นเพียงก่อขึ้นรูปไว้
แต่ก็ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่มาก ชั้นหลังคายังอยู่ครบ มีผังเพิ่มมุมมีมุขทางเข้าที่ด้านทั้งสี่ คือแบบแผนทั่วไปของปราสาทหินในสมัยเมืองพระนคร แต่เนื่องจากไม่มีลวดลายสลักทำให้การกำหนดอายุทำได้เพียงคร่าวๆ
ว่าอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ ซึ่งตั้งตระง่าอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักในเขตบ้านไทยนิยม
อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
และเป็นปราสาทที่มีความเป็นมนต์ขลังของเทวสถานแห่งพลังศรัทธา
เป็นประจักษ์พยานถึงความเชื่อศรัทธาของผู้คนในอดีตที่มีต่อเทพเจ้า จึงเป็นที่น่าสนใจในการนำเรื่องราวเหล่านี้มาเพื่อเป็นเครื่องเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออรยธรรมสู่โบราณสถานที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันอย่างไรจึงได้นำเรื่องราวนี้มาเป็นเนื้อหาในการศึกษาต่อไป

๒.
ปราสาทตาควาย
ปราสาทตาควาย หรือปราสาทตาวาย
หรือในภาษาเขมรเรียกว่า ปราสาทกรอเบย (กระบือ)[๒] ตั้งอยู่บริเวณช่องตาควาย ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา
หมู่ ๑๗ ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหินศิลาแลง
ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธม ห่างไปประมาณ ๑๒กิโลเมตร ปราสาทตาควายตั้งอยู่บนสันเขาห่างจากหน้าผาสูงประมาณ
๑๐ เมตร ของเทือกเขาพนมดงรัก เป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท ส่วนฐานต่ำ ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด
หลังคาห้องครรภคฤหะก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๕ ชั้น
ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง ๔ ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม
ลักษณะคล้ายสวายยัมภูวลึงค์ ๑ ชิ้น นักประวัติศาสตร์คาดการณ์จากรูปทรงของตัวปราสาท
ว่าปราสาทนี้น่าจะสร้างในช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน[๓]
ระหว่างรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยปราสาทตาควายเป็นปราสาทหินศิลาแลง
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สำหรับผังของปราสาทนั้น เป็นรูปกากบาท มีส่วนฐานต่ำ
ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะ
ก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๕ ชั้น
ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง ๔ ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม
ลักษณะคล้ายสวายยัมภูวลึงค์ ๑ ชิ้น นอกจากนี้ ปราสาทตาควายยังเป็นปราสาทหลังเดียวโดด
ๆ ไม่มีอาคารประกอบอื่น ๆ ทำให้เชื่อและด้วยความที่ปราสาทตาควาย
ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ เพียงแต่ทำการก่อขึ้นรูปไว้เท่านั้น ยังมิได้มีการขัดแต่งผิวหิน
หรือ แกะสลักลวดลายใด ๆ จึงทำให้ปราสาทตาควายยังคงรูปอยู่ได้ โดยไม่ถูกทำลายหรือถูกลักลอบกะเทาะชิ้นส่วนต่าง
ๆ ไป เช่นที่เกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ ตามแนวชายแดน และการที่ไม่ปรากฏลวดลายอย่างหนึ่งอย่างใดเลยนี้
ทำให้กำหนดอายุปราสาทตาควายได้แต่เพียงกว้างๆ โดยการดูจากรูปทรงของตัวปราสาททำให้คาดว่า
น่าจะอยู่ในราวช่วงปลายสมัยนครวัด ตอนต้นสมัยบายน หรือรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒
ถึงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นั่นเอง [๔]
๓ ความน่าสนใจของเทวสถานบรรพตปราสาทตาควาย

ฉะนั้นจึงมีการตกลงร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นของทั้ง
๒ ฝ่าย คือ ใช้เป็นจุดประสานงานร่วมกัน ทำให้ประชาชนสามารถไปเยี่ยมชมความงดงามของปราสาทตาควายได้
โดยการเดินเท้าเข้าขึ้นไปที่ปราสาทตาควาย ด้วยระยะทาง ๑ กิโลเมตร
โดยมีกองร้อยทหารพราน ที่ ๒๖๐๒ และกองร้อยทหารพรานที่ ๒๖๐๖ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่
๒๖ กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ ๒ จัดกำลังเจ้าหน้าที่ทหารพราน เข้าดูแลพื้นที่
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวปราสาทหินแห่งใหม่ที่พบในป่าทึบนี้
จึงได้มีการเรียกกันตามชื่อช่องเขาว่า "ปราสาทตาควาย"
แต่เนื่องจากการเก็บกู้กับระเบิดในบริเวณนั้นยังไม่เสร็จสิ้น
ทั้งยังเป็นเขตที่มิได้มีการปักปันพรมแดนกันอย่างชัดเจนการเดินทางเข้าไปยังปราสาท
จึงจำเป็นต้องติดต่อประสานกับทางหน่วยทหารพรานของกองกำลังสุรนารีในพื้นที่เพื่อขอกำลังอารักขาดูแลความปลอดภัย
ทำนองเดียวกันกับการเข้าไปยังกลุ่มปราสาทตาเมือน แม้วันนี้สถานการณ์การปะทะระหว่างไทย
– กัมพูชา[๕]
ที่บริเวณปราสาทตาควายยังไม่สงบลง และยังไม่รู้ว่าจะยุติเมื่อไหร่
แต่ประชาชนตามชายแดน และรอบพื้นที่ปราสาทตาควายก็ได้แต่หวังว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้ในเร็วๆ
นี้ และ เชื่อว่าหากเหตุการณ์สงบลงปราสาทตาควาย น่าจะเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดีที่จะได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทั้งจากนักท่องเที่ยวกัมพูชาและไทยแน่นอน
ดังนั้นปราสาทตาควายแห่งเทือกเขาพนมดงรักเป็นประจักษ์พยานถึงความเชื่อศรัทธาของผู้คนในอดีตที่มีต่อเทพเจ้าที่ยังคงความคลังและรอการเข้าไปเยี่ยมเยียนของทุกคนในสองประเทสโดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นผู้คนจากดินแดนใด
แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อขีดเส้น แบ่งดินแดนออกเป็นประเทศไทยและประเทศกัมพูชาโดยใช้เขาพนมดงรักเป็นแนวเขตแดนธรรมชาติ
ปราสาทตาควายซึ่งอยู่ใกล้เส้นพรมแดนนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสลายสภาพความเป็นสมรภูมิรบให้เป็นสมรภูมิแห่งความสงบ
ให้คนปัจจุบันได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของโบราณสถานอันเป็นวัฒนธรรมของคนสองชาติ
หากการเจรจาสองฝ่ายไม่ดำเนินการ อาจทำให้การถือเอาเส้นพรมแดนที่ตัดผ่านป่าเขา
ไร้ผู้คนว่ามีความสำคัญยิ่งจะทำให้ความสำคัญและคุณค่าที่แท้จริงซึ่งโยงใยอยู่กับศรัทธาในศาสนามาหลายยุคหลายสมัยต้องหายไปพร้อมกับความขัดแย้ง
เมื่อเป็นเช่นนี้สันติสุขคงเกิดขึ้นได้ยากในพื้นที่แห่งนี้
นอกจากการทำความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันอย่างถูกต้องและแน่นอนถึงจะนำไปสู่ความสันติสุขอย่างถาวรได้
๔.
ความหมาย ที่มาของรูปแบบ คติการสร้าง และความสำคัญของปราสาทขอม
๔.๑. ความหมาย
คำว่า “ปราสาท”
(Prasada) มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง
อาคารที่มีส่วนกลางเป็นห้องเรียกว่า “ห้องครรภคฤหะ” หรือ “เรือนธาตุ” และมีหลังคาเป็นชั้นซ้อนกันหลายชั้นเรียกว่า
“เรือนชั้น” หลังคาแต่ละชั้นนั้น เป็นการย่อส่วนของปราสาท
โดยนำมาซ้อนกันในรูปของสัญลักษณ์ แทนความหมายของเรือนฐานันดรสูง
อันเป็นที่สถิตของเหล่าเทพเทวดา ดังนั้น ปราสาทจึงหมายถึง อาคารที่เป็นศาสนสถาน
เพื่อประดิษฐานรูปเคารพ และการทำพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ใช่พระราชมณเฑียร
อันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ด้วยเหตุนี้จึงมีความแตกต่างในเรื่องของวัสดุ
กล่าวคือ ปราสาทที่เป็นศาสนสถานนั้น สร้างด้วยวัสดุ
ที่มั่นคงแข็งแรงประเภทอิฐหรือหิน ส่วนพระราชมณเฑียร ที่ประทับของพระมหากษัตริย์
สร้างด้วยไม้ทั้งสิ้น
“ปราสาทขอม” หมายถึง อาคารทรงปราสาทที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมขอม หรือเขมรโบราณ
เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาฮินดู
และพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ส่วนคำว่า “ปราสาทขอมในประเทศไทย”
นั้น หมายถึง อาคารทรงปราสาทในวัฒนธรรมขอม
ที่พบในดินแดนไทยในปัจจุบัน
ซึ่งดินแดนเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม
รวมทั้งบางส่วนได้มีการรับอิทธิพลทางศาสนา และงานศิลปกรรมขอมมาสร้าง
โดยคนในท้องถิ่น แต่เดิมมักเรียกงานศิลปะของวัฒนธรรมขอมในประเทศไทยว่า “ศิลปะลพบุรี” เนื่องจากเชื่อว่า เมืองลพบุรี
เคยเป็นเมืองศูนย์กลางของขอมในประเทศไทย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘
และมีลักษณะของงานศิลปกรรมบางอย่าง ที่แตกต่างจากศิลปะขอม
แต่ในปัจจุบันนิยมเรียกว่า “ศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย”
เพราะเป็นคำรวมที่ครอบคลุมพื้นที่และระยะเวลามากกว่า กล่าวคือ พื้นที่ของประเทศไทย
ที่รับวัฒนธรรมขอมอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘[๖]
๔.๒. ที่มาของรูปแบบ
อาคารทรงปราสาทที่ใช้เป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมขอมนั้น
มีที่มาจากอินเดีย กล่าวคือ ชาวอินเดียได้สร้างปราสาทขึ้น เพื่อประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนา
เรียกว่า เทวาลัย โดยสร้างเป็นอาคารที่มีหลังคาซ้อนชั้นขึ้นไปหลายชั้น
แต่ละชั้นมีการ ประดับอาคารจำลอง สามารถแยกออกเป็น ๒ สายวัฒนธรรม ได้แก่
อินเดียภาคเหนือ เรียกว่า “ทรงศิขร” (สิ-ขะ-ระ) คือ
ปราสาทที่มีหลังคารูปโค้งสูง ส่วนในอินเดียภาคใต้ เรียกว่า “ทรงวิมาน”
คือ ปราสาทที่มีหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมักประดับอาคาร
จำลองจากรูปแบบของปราสาทขอม ในระยะแรกเชื่อกันว่า ได้รับอิทธิพลของทรงศิขร
จากอินเดียภาคเหนือ ส่วนทรงวิมานนั้น ส่งอิทธิพลมายังศิลปะชวา
ต่อมาภายหลังช่างขอมได้นำเอารูปแบบทั้ง ๒ สายวัฒนธรรม มาผสมผสานกัน
จนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเองขึ้น
๔.๓. คติการสร้าง
การสร้างอาคารทรงปราสาทมาจากคติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่า
เทพเจ้าทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนกลางของจักรวาล
ซึ่งอยู่บนสวรรค์ การสร้างปราสาทจึงเปรียบเสมือนการจำลองเขาพระสุเมรุมายังโลกมนุษย์
เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และมีการสร้างรูปเคารพของเทพเจ้าขึ้น
เพื่อประดิษฐานไว้ภายใน โดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่างๆ
ที่ใช้แทนความหมายของเขาพระสุเมรุ เช่น มีปราสาทประธานตรงกลาง
มีปราสาทบริวารล้อมรอบ ถัดออกมามีสระน้ำ และกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การที่ทำหลังคาปราสาทเป็นเรือนซ้อนชั้นก็หมายถึง
สวรรค์หรือวิมานของเทพเทวดานั่นเอง
ด้วยเหตุที่เป็นการจำลองจักรวาลมาไว้บนโลกมนุษย์ และเป็นที่สถิตของเทพเจ้า
จึงต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ ตามที่กำหนดไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด
ตัวปราสาทจึงมีขนาดใหญ่โต และใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน
๔.๔. ความสำคัญ
ด้วยเหตุที่ปราสาทขอมคือ
ศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้น ตัวปราสาท และเขตศาสนสถานจึงถือว่า
เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้ในความหมายที่เป็นศูนย์กลางของเมืองหรือชุมชน
ปราสาทเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งในศาสนาฮินดูจะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี
เช่น การสรงน้ำรูปเคารพที่อยู่ภายในห้องครรภคฤหะ
น้ำที่สรงแล้วจะไหลออกมาทางท่อน้ำเรียกว่า ท่อโสมสูตร ซึ่งต่อออกมาภายนอกตัวปราสาท
เพื่อที่ชาวบ้านจะได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ไปใช้
นอกเหนือจากปราสาทที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนแล้ว การสร้างสระน้ำและบาราย
(สระน้ำขนาดใหญ่) ก็เป็นส่วนหนึ่งของปราสาท เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำ สำหรับชุมชน
ในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น การสร้างปราสาทจึงเป็นภาระสำคัญของพระมหากษัตริย์
ที่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ต้องสร้างขึ้น เพื่ออุทิศให้แก่บรรพบุรุษ
หรือให้แก่พระองค์เอง และสร้างบารายให้แก่ประชาชน
การสร้างปราสาทที่มีขนาดใหญ่จึงแสดงให้เห็นถึงบุญบารมี
และพระราชอำนาจของกษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย
๔.๕. การสร้างปราสาทหินในวัฒนธรรมขอม
การสร้างปราสาทหินในวัฒนธรรมขอม
การสร้างเทวบรรพต (สร้างปราสาทบนภูเขา) และเทวสถาน (สร้างปราสาทบนที่ราบ)
นั้นถือเป็นราชประเพณีสำคัญที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๓๓๓-๑๓๘๙)
ทรงโปรดมีพระบรมราชโองการให้มีการพระราชพิธีเทวราชาหรือราชาภิเษกของกษัตริย์
ให้มีการพระราชพิธีเทวราชา หรือราชาภิเษกของกษัตริย์ในการเป็น กมรเตง ชคต ราช
(เทวะผู้เป็นราชา)
และสถาปนาเทพคุ้มครองราชย์บัลลังก์และราชอาณาจักรขึ้นพร้อมกับประดิษฐานรูปเคารพในเทวบรรพตหรือเทวสถาน
ด้วยเหตุนี้ การสร้างเทวบรรพตและเทวสถาน
จึงมีการวางผังปราสาทกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรม
เพื่อแสดงอำนาจและพระบุญญาบารมีของเทวราชา ที่กษัตริย์สถาปนาขึ้นดังนั้น การสร้างรูปเคารพ
(พระศิวะ –ศิวลึงค์) เพื่อประดิษฐานให้พราหมณ์
ประกอบพระราชพิธีตามคติ ศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย หรือไวษณพนิกาย
จึงนิยมถือปฏิบัติกันในกษัตริย์ของอาณาจักรขอม
การสร้างปราสาทขอมในระยะแรกนั้น
ก่อเป็นปราสาทหลังหนึ่ง ตั้งอยู่โดดเด่นองค์เดียว ต่อมาในภายหลังนั้นนิยมสร้างเป็นปราสาท
๓ หลัง และปราสาท ๕ หลัง โดยตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งฐานนี้ยกพื้นให้สูงขึ้นมีบันไดขึ้นด้านหน้า
โดยมีกลุ่มปราสาท ๓-๕ หลังนี้เป็นหลักตั้งอยู่ตรงกลาง โดยมีปราสาท (องค์ปรางค์)
ประธานอยู่ตรงกลางและยกชั้นให้สูงกว่าปราสาทบริวารองค์อื่น ๆ บริเวณเทวสถานี้มีการสร้างกำแพงอิฐหรือหิน
หรืออาคาร (ระเบียงคด) ล้อมรอบทั้งสี่ด้าน โดยมีปราสาท (องค์ปรางค์)
ที่เป็นประธานนั้นอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าจะมีปราสาทบริวารและอาคารเฉพาะสำหรับเป็น
บรรณาลัย (หอเก็บตำรา – ห้องสมุด) หรือ ปราสาทประดิษฐาน
รูปเคารพอื่น ด้านนอกอาจจะมีสระน้ำ (บาราย)โดยมีทางเข้าด้านหน้า
(มักใช้ทิศตะวันออก) สู่องค์ปราสาทชั้นในนั้น
สร้างเป็นกรอบซุ้มประตูเข้าออกเรียกว่า โคปุระ
๔.๖. ครรภคฤหะ
ตัวปราสาทนั้น เรียกว่า เรือนธาตุ
สร้างเป็นห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ (ห้องครรภคฤหะ) โดยวางก้อนหินเป็นผนังล้อมรอบ เว้นช่องประตูทางเข้าไว้ด้านหน้าด้านเดียว
และอีกสามด้านนั้น ทำเป็นประตูหลอกที่ปิดไม่มีช่องเข้าแต่มีกรอบเป็นประตู
หรือจะเว้นช่องเข้าช่องเข้าทั้งสี่ด้านก็ได้ ปราสาท (องค์ปรางค์)
ประธานนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างโดยผสมผสานเทคนิคการสร้างที่ใช้การก่ออิฐ
วางก้อนหินศิลาทราย และหินศิลาแลง(แบบเทวสถานที่เมืองมาวลีปุรัมในอินเดียใต้)
ตามรูปแบบที่กำหนด
โดยนำการสร้างอาคารของชาวพื้นเมืองคือใช้ท่อนไม้เข้ามาเสริมในส่วนที่เป็นคานเหนือทับหลังด้านในเป็นคานเพดานองค์ปรางค์
หรือคานระเบียงคด เป็นต้น
๔.๗. ส่วนที่สำคัญของปราสาท
ส่วนที่สำคัญของปราสาท คือ
ส่วนยอดที่ต้องมีเทคนิคในการวางศิลาให้เป็นชั้นและซ้อนขึ้น
โดยลดหลั่นไปจนประสานเป็นโดมหลังคา ตามชั้นลดและมุมปราสาทวางกลีบขนุนที่สลักรูปภาพ
ส่วนบนของโคมนั้นประดับด้วยหินที่สลักเป็นดอกบัวตูมหรือกลศ (หม้อ)
วางเทินกันเป็นยอด และห้าบันทางเข้าปราสาทแต่ละชั้นมักเป็นภาพจำลองเรื่องราวของรูปเคารพ
ที่ประดิษฐานในปราสาทองค์นี้ เช่น พระวิษณุ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ พระนารายร์อวตาร
พระศิวะนาฏราช และเรื่องราวจากรามายณะ เป็นต้น
ภายในองค์ปราสาทนั้นมักประดิษฐานด้วยรูปเคารพตามศาสนาคือ ไศวนิกาย สร้างพระศิวะ
ศิวลึงค์ ไวษณพนิกาย สร้างพระวิษณุ พระนารายณ์ พุทธศาสนา
สร้างพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธรูป เป็นต้น สำหรับรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์นั้น
มีการสร้างรูปของพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์-ฮินดู ที่สำคัญ คือ พระศิวะหรือพระอิศวร
(โดยสร้างศิวะลึงค์ เป็นสัญลักษณ์) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ พระกฤษณะ พระอุมา
(สร้างฐานโยนีเป็นสัญลักษณ์) พระลักษมี อรรธนารีศวร พระพรหม
(บางทีสร้างเป็นลูกฟัก) นางพรหมมี ส่วนพระผู้เป็นเจ้าองค์อื่น ๆ มี
พระพิฆเนศวรหรือพระคเณศ เทพยดาประจำทิศ พระอินทร์ พระยม ท้าวกุเวร พระวรุณ พระพาย
พระอัคณี พระอีสาน พระนฤฤติ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระเกตุ พระราหู
และยังมีฤาษีนักบวชในศาสนพราหมณ์-ฮินดู นางอัปสร และบริวารของเทวดาทั้งหลาย
๔.๘. โครงสร้างปราสาทหิน
โครงสร้างปราสาทหิน มักใช้ศิลาทราย
สร้างเป็นกรอบประตู เสาประดับกรอบประตู และทับหลัง การก่ออิฐหรือหินศาลาทรายนั้น
หากซ้อนกันเป็นเนื้อเดียวจะใช้น้ำยา (ทำจากธรรมชาติ) เชื่อมให้เป็นก้อนเดียวกัน
สำหรับแกะสลักรูปหรือลาย ส่วนเป็นโครงสร้างที่ต้องเสริมความมั่นคงจะใช้แท่งเหล็ก
ตัว I
หรือ Z วางบนร่องบาก เป็นแกนยึดก้อนหิน
โดยมีตะกั่วหลอมทับ นอกนั้นเป็นการวางตามน้ำหนักของหินแต่ละก้อนที่ต้องตัดแต่งให้เข้าแบบของสถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารปราสาทที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะการใช้ศิลาแลงที่มีแร่เหล็ก ควอตร์ ไก้ และเม็ดหินแข็งผสมอยู่
ต้องรู้จักนำออกจาก หลุ่มใต้ดินเพื่อตัดฟันให้ได้ส่วนประกอบก็ต้องทำด้วยความชำนาญ
๔.๙. ส่วนประกอบปราสาทหิน
จึงมีชิ้นงานที่สำคัญ ฐานราก
ทับหลังประดับหน้าบันเสา กรอบประตูเสาประกบฝาผนัง เสาช่องหน้าต่าง ชั้นเชิงบาตร
กลับขนุน ส่วนยอดปราสาท
ตลอดจนรูปเคารพนั้นจึงเป็นงานประติมากรรมที่ต้องมีฝีมือและใช้วิธีการประกอบที่ต้องศึกษาวิธีการว่านำขึ้นไปประกอบโดยวิธีใด
โดยเฉพาะงาน
ประติมากรรม
ซึ่งมีทั้งภาพสลักนูนต่ำ ส่วนประกอบองค์ปรางค์
และภาพที่สลักเพื่อแสดงสัญลักษณ์ของจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุ
สถานที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์
ดังนั้นจะมีการสลัดลวดลายประกอบและบุคคลที่เกี่ยวข้องในศาสนา
และภาพเรื่องราวที่แสดงกฤษดาภินิหารของรูปเคารพ พระผู้เป็นเจ้าองค์นั้น
นอกจากนี้ยังมีการจำหลักรูปเคารพลอยตัวและหล่อเป็นองค์รูปเคารพหรือสัญลักษณ์แทนพระผู้เป็นเจ้าองค์นั้น
ซึ่งถือว่าเป็นงานประติมากรรมชั้นยอดของวัฒนธรรมขอม ปราสาทส่วนใหญ่นั้นนิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ส่วนที่หันหน้าไปทศอื่นนั้น ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ เช่น ปราสาทนครวัด
หันหนาไปทางทิศตะวันตก ปราสาทเขาพระวิหาร หันหน้าไปทางทิศเหนือและปราสาทหิน พิมาย หันหนาไปทางทิศใต้ การสร้างปราสาทหิน
จึงเป็นภูมิปัญญาและการสถาปัตยกรรมโบราณที่เจริญสูงสุด
เป็นเครื่องแสดงพระบุญญาบารมีแห่งกษัตริย์ พลังของศรัทธา และการนับถือศาสนาพราหมณ์
สำหรับสร้างอำนาจให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองของอาณาประชาราษฎร์
และขยายอิทธิพลไปสู่บริเวณอื่นไดกว้างไกล
ดังนั้น
ปราสาทหินที่ขอมสร้างขึ้น จึงมีรูปแบบและขนาดไม่เหมือนกัน
ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการสร้าง โดยศึกษาได้จากภาพ ประติมากรรม
ประกอบการสร้างปราสาท ซึ่งมีการสลักภาพประติมากรรมเล่าเรื่องไว้ที่ปราสาทหินมากมาย
เช่น ภาพเกี่ยวกับพระศิวะ มีศิวะนาฏราช (พระศิวะฟ้อนรำ)
ภาพศิวะกับพระอุมาประทับเหนือโคนนทิ ภาพเกี่ยวกับพระนารายณ์ มีนารายณ์บรรทมสินธุ์
นารายณ์กวนเกษียรสมุทร นารายณ์อวตาร-กูรมาตาร (เป็นเต่า) นารายณ์ย่างสามขุม ภาพเกี่ยวกับกฤษณะ
มีกฤษธณโควรรธนะ กฤษณะปราบนาคกาลิยะ กฤษณะอวตาร-วามนาตาร(เป็นพราหมณ์เตี้ย) ภาพเกี่ยวกับรามาวตาร
(รามายณะ) มี ทศกัณฐ์ลักนางสีดา พระลักษณ์ถูกศรนาคบาศศึกกุมภกรรณ และนอกจากนี้
มีประติมากรรมภาพสลักเป็นรูปเคารพในพุทธศาสนานั้นมีภาพ พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร
พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย นางปรัชญาปารมิตา นางดารา พระวัชรสัตว์ พระวัชรธร
เหวัชร เป็นต้น ส่วนประติมากรรมที่เป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนมาก
เป็นเครื่องสำริด เช่น เครื่องประกอบราชรถ สังข์ พาน เชิงเทียน หม้อน้ำ (กลศ)
ด้ามกระดิ่ง ยอดตรีศูล ขัน ฐานคันฉ่อง เครื่องประดับทำจากทองคำ และสำริด เป็นต้น
และยังมีเครื่องปั้น ภาชนะดินเผา ที่เป็นกระบุกหรือไหขอม ตลอดจนภาชนะที่มีภาพคน
ภาพสัตว์ เช่น ช้าง ปลา กระต่าย นกฮูก ม้า เป็นต้น ซึ่งเป็นหลักฐานที่ให้ศึกษาถึงสังคมและวัฒนธรรมขอม
ได้เป็นอย่างดี
๕.
วิเคราะห์เหตุผลของการสร้างปราสาทไม่แล้วเสร็จ

การเสื่อมสภาพและพังทลายลงของปราสาทขอมปราสาทตาควาย
วิเคาระได้เป็น ๒ ลักษณะที่ชัดเจนคือ เกิดจากการทิ้งร้างและเกิดจากการทำลายโดยมนุษย์
และส่วนที่สองที่เกิดจากการทิ้งร้างให้ผุกร่อนลงตามธรรมชาติ คงเป็นเรื่องที่นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ต้องขบคิดและขุดค้นหาหลักฐานเรื่องราวอีกมากว่าเกิดอะไรขึ้นในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนจากการนับถือพราหมณ์ฮินดู
และพุทธมหายาน มาเป็นพุทธเถรวาทลังกา พร้อมกับการเปลี่ยนจากอารยธรรมขอมมาเป็นสยาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบรุนแรงและฉับพลันในบริเวณอีสานสูงนั้น
ที่กล่าวถึงกองทัพเสียมที่เข้าปิดล้อมพระนครหลวง
มีการรบพุ่งกันจนหมู่บ้านกลายเป็นที่โล่ง และส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงศาสนาและการปกครองในกัมพูชา
ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของอิทธิพลอารยธรรมขอมและพราหมณ์ฮินดู
มาเป็นระบบกษัตริย์
ตามพุทธคติและการนับถือพุทธศาสนาในแบบฉบับของเถรวาทลังกาเป็นหลัก
ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่บริเวณอีสานสูงอย่างไร
คำถามต่างๆ
คงไม่สิ้นสุดลงจนกว่าจะได้คำตอบว่าอะไรเป็นเหตุแห่งแรงบันดาลใจให้มีการปฏิบัติการครั้งสำคัญนี้
และใครเป็นแกนนำของขบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ตามมาจากการทำลายล้างอิทธิพลขอมในบริเวณที่ราบสูงอีสานได้ปิดฉากวัฒนธรรมขอมที่ฝังรากลึกไม่น้อยกว่า
๔๐๐ ปีในดินแดนแห่งนี้ลงโดยสิ้นเชิง
และเปิดศักราชใหม่ให้แก่วัฒนธรรมที่มีพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากลังกาเป็นแบบฉบับและเจริญงอกงามมาจนปัจจุบัน
๖.
อิทธิพลและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นปัจจุบันกับปราสาทตาควาย
สำหรับปราสาทตาควาย หรือปราสาทตาวาย
หรือในภาษาเขมรเรียกว่า ปราสาทกรอเบย ตั้งอยู่บริเวณช่องตาควาย
เป็นปราสาทหินศิลาแลง ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธม ห่างไปประมาณ ๑๒
กิโลเมตร ตั้งอยู่บนสันเขาห่างจากหน้าผาสูงประมาณ ๑๐ เมตร ของเทือกเขาพนมดงรัก เป็นปราสาทจตุรมุข
ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท ส่วนฐานต่ำ
ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะ
ก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๕ ชั้น
ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง ๔ ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม
ลักษณะคล้ายสวายยัมภูวลึงค์ ๑ ชิ้น สร้างในช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน
ระหว่างรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่น่าสนใจของอีสานใต้ เพราะนอกจากจะเป็นทางผ่านเชื่อมไปยังประเทศกัมพูชาแล้ว ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวสวย ๆ รออยู่เพียบ ทั้งวัดวาอาราม ปราสาทหิน หมู่บ้านช้าง หมู่บ้านทอผ้าไหมระดับประเทศ จุดชมวิว ที่เที่ยวธรรมชาติ สวนน้ำ ถนนคนเดิน และอีกสารพัดรูปแบบของแหล่งท่องเที่ยว ถือได้ว่ามีความน่าเที่ยวไม่น้อยไปกว่าจังหวัดไหนในเมืองไทยเลย
ปราสาทตาควาย ตั้งอยู่ที่บ้านไทยนิยมพัฒนา ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก มีลักษณะเป็นปราสาทหินขนาดไม่ใหญ่มากนัก สร้างจากหินศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นปราสาทหลังเดียวไม่มีหมู่บริวารภายในปราสาทมีประติมากรรมลักษณะคล้ายกับศิวลึงค์ ๑ ชิ้น ทางขึ้นปราสาทจะเป็นบันได มีรูปปั้นพญานาคอยู่ทั้งสองด้าน โดยรอบปราสาทเป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ บรรยากาศร่มรื่น สามารถเข้าเที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ น. ซึ่งที่ผ่านมามีผลหลายด้านที่เกิดขึ้นอิทธิพลปัจจุบัน
โดยมีผลต่อวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ด้านวิถีชีวิตภาษา คือ ภาษาเขมร กูย และลาว แต่ละกลุ่มมีวิถีชีวิตเรียบง่าย
สามัคคี รักษาภาษา ประเพณีและวัฒนธรรม ของตนไว้อย่างดี จึงสามารถสรุปประเด็นถึงการศึกษาคุณค่าและอิทธิพลกลุ่มปราสาทขอมที่มีต่อวิถีชีวิตคนท้องถิ่น
มี ๓ ด้าน คือ (๑) ด้านสังคม เช่น ด้านความเชื่อ คือ มีความเชื่อเรื่องผี
นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ปัจจุบันคนท้องถิ่นส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาแต่ได้นับถือผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในปราสาทขอมด้วย
ด้านการศึกษา เช่น มีการออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ
เป็นศิลปะขอมและใช้ปราสาทขอมเป็นสื่อและแหล่งเรียนรู้ ด้านวัฒนธรรมและประเพณี คือ
ปราสาทขอมเป็นแหล่งเกิดของตำนาน วัฒนธรรมและประเพณี ท้องถิ่นจำนวนมาก (๒) ด้านเศรษฐกิจ เช่น ด้านการผลิตสินค้า ตัวปราสาทขอมมิได้เป็นสิ่งผลิตสินค้า
แต่มีอิทธิพลก่อให้เกิดการผลิตสินค้าในท้องถิ่นเนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดสุรินทร์
ด้านการจำหน่ายจ่ายแจก
เป็นสถานที่จัดแสดงและจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองที่ผลิตโดยคนในท้องถิ่น
ด้านการบริโภคใช้สอย
เป็นสถานที่บริโภคใช้สอยสินค้าของคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่มาดูปราสาทขอมในพื้นที่มากขึ้น
(๓) ด้านการเมืองการปกครอง มีอิทธิพลต่อการเมืองระดับชาติและระหว่างประเทศ
การเมืองระหว่างประเทศส่งผลให้ปราสาทเป็นที่น่าสนของผู้คนที่เดือนทางมาเที่ยวชมและศึกษาถึงภูมิประเทศและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชนชาติไทยตามแนวเขตชายแดน
จากวิธีการทั้ง ๓ ด้านนี้ ทางฝ่ายปกครองได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบักได
อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ มีการเปิดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวปราสาทตาควายขึ้นเป็นประจำทุกปี
ภายในงานมีพิธีสงฆ์ทำบุญอุทิศแก่ทหารกล้าที่สละชีพ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน
ประกวดร้องเพลง ชกมวยไทย มวยทะเล นิทรรศการของหน่วยงาน
เพื่ออนุรักษ์สืบสานฟื้นฟูวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ท่ามกลางนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่
และบริเวณรอบข้าง และงานนี้จะมีการจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ณ
บริเวณทางขึ้นปราสาทตาควาย บ้านไทยนิยมพัฒนา ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก
จังหวัดสุรินทร์ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานฟื้นฟูวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
และสร้างจิตสำนึกให้หวงแหนตลอดจนเห็นคุณค่าของโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินไทย
รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ปราสาทตาควาย ให้เป็นที่รู้จักของบุคลทั่วไป
บรรณานุกรม
ก่องแก้ว วีระประจักษ์. “อารยธรรมที่ปราสาทตาเมือนธมจากหลักฐานจารึก,”
ใน ศิลปากร. ปีที่
๕๑ ฉบับที่ ๕ กันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๑.
ชะเอม แก้วคล้าย. “จารึกปราสาทตาเมือนธม,”
ในศิลปากร, ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๒ มีนาคม-เมษายน ๒๕๔๒.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ปราสาทขอมในดินแดนไทย ความเป็นมาและข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๑.
ศรัณย์ ทองปาน. “ตาควาย
ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ,” ใน เมืองโบราณ. ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๒
เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๗.
สุเจน กรรพฤทธิ์. “บันทึกการเดินทางตามหา
‘ราชมรรคา’ ถนนแห่งศรัทธาของพระเจ้าชัยวรมันที่
๗,” ใน เมืองโบราณ. ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๑.
ข้อมูลจากอินเตอร์เนต
https://travel.kapook.com/view25575.html ปราสาทตาควาย
อีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์การปะทะ ไทย-กัมพูชา , สืบข้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๒
สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0
<สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑>
จังหวัดสุรินทร์, เส้นทางอารยธรรม มรดกล้ำค่าสุรินทร์
TRACKING DOWN THE GLORIOUS PATHS OF SURIN CIVILAZATION, หน้า ๑๐๓.
http://kanchanapisek.or.th.php?book=30&ch=3&page=t30-3-infodetail01.html.
เปิดข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑.
[๒] จังหวัดสุรินทร์,
เส้นทางอารยธรรม มรดกล้ำค่าสุรินทร์ TRACKING DOWN THE GLORIOUS PATHS OF
SURIN CIVILAZATION, หน้า
๑๐๕.
[๓] [ข้อมูลออนไลท์]https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0
<สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑>
[๔] จังหัวดสุรินทร์,
เส้นทางอารยธรรม มรดกล้ำค่าสุรินทร์ TRACKING DOWN THE GLORIOUS PATHS OF
SURIN CIVILAZATION, หน้า
103
[๕] [ข้อมูลออนไลท์] ปราสาทตาควาย
อีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์การปะทะ ไทย-กัมพูชา https://travel.kapook.com/view25575.html , สืบข้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑
[๖][ออนไลท์]
http://kanchanapisek.or.th.php?book=30&ch=3&page=t30-3-infodetail01.html.
เปิดข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น